Immunosecurity: เคล็ดลับสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงสัตว์

Immunosecurity ที่เราพูดถึงมาจาก Immune + security ซึ่งหมายถึง ความปลอดภัยจากโรคโดยให้ความสำคัญกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายสัตว์ นั่นเอง

การที่สัตว์จะมีการเจริญเติบโตดีมีสุขภาพแข็งแรง หรือมีการเจ็บป่วย เป็นโรค ล้วนเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันในร่างกายทั้งสิ้น การพัฒนาภูมิคุ้มกันในฝูงจึงเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรก บ่งบอกถึงความสำเร็จของฝูง และส่งผลต่อเนื่องถึงสุขภาพสัตว์โดยรวมอีกด้วย

หากจะพูดให้เห็นภาพของฝูงที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันต่ำว่าเป็นอย่างไร

อาการที่เราสามารถสังเกตเห็นได้คือ สุกรจะเริ่มมีการหายใจถี่ อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น กินได้น้อย และอาการเครียด ทำให้ส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินอาหารลดลงด้วย

ทำให้เกิดอาการที่รุนแรงขึ้น เช่น

1. Leaky gut syndrome หรือกลุ่มอาการที่เกิดจาก เชื้อโรคปล่อยสารพิษสู่เนื้อเยื่อร่างกายและระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดการอักเสบและเลือดเป็นพิษ

2. สัตว์ผอมโทรม เพราะกินได้น้อย ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้น้อย ร่วมกับร่างกายสูญเสียกรดอะมิโนอย่างหนัก

3. คุณภาพซากแย่ลง

4. ในแม่พันธุ์จะส่งผลต่อวงรอบการเป็นสัดและในพ่อพันธุ์จะส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพน้ำเชื้อ

5. ผลิตน้ำนมได้ลดลง

6. อัตราตายเพิ่มขึ้น

อีกปัจจัยที่ทำให้ฝูงมีปัญหาต่ำก็คือ อาหารที่เลี้ยง มีคุณค่าทางโภชนะเพียงพอหรือไม่ คุณภาพวัตถุดิบ ณ ตอนนั้นเป็นอย่างไร อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อราหรือสารพิษ และอีกปัจจัยสำคัญที่ฝูงสุกรที่เลี้ยงมักประสบคือภาวะเครียด ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ มีโอกาสพบในทุกระยะการเลี้ยง หากเป็นในแม่ก็พบได้ตั้งแต่ช่วงผสม อุ้มท้องและคลอด ส่วนในลูกก็พบได้ตั้งแต่ ลูกแรกเกิด ช่วงดูดนม หย่านมและต่อไปถึงช่วงขุน โดยเฉพาะช่วงรอยต่อของระยะการเลี้ยง เช่น หย่านมลงอนุบาล อนุบาลลงขุน ที่มีการเปลี่ยนอาหาร สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการจัดลำดับสังคมในคอกหรือในฝูงใหม่ จะเป็นช่วงที่สุกรมีความเครียดสูงทำให้เกิดความเจ็บป่วย

นอกจากการควบคุมดูแลในเรื่องที่ทำให้ภูมิคุ้มกันตกต่ำแล้ว อีกหัวใจสำคัญก็คือการดูแลในช่วง ‘Window of susceptibility’ … เราทราบดีอยู่แล้วว่าลูกสุกรต้องการนมน้ำเหลืองในช่วง 24-72 ชม.แรกจากแม่ เพื่อพัฒนาภูมิคุ้มกันชนิด IgG, IgM และหลังจากนั้น น้ำนมจากแม่สุกรจะมีบทบาทในการส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันแบบ lining เคลือบเยื่อเมือก เช่น เยื่อบุลำไส้, ผิวหนัง, ช่องจมูก, ดวงตา ซึ่งจะเกี่ยวกับ IgA ต่อมาในช่วงสัปดาห์ที่สาม จะเริ่มเข้าสู่ความสำคัญของการวางโปรแกรมวัคซีน ที่จะต้องเหมาะสมกับภูมิคุ้มกันที่มาจากแม่ (Maternal Derived Antibody : MDA) และปิดความเสี่ยงที่ลูกสุกรจะรับสัมผัสเชื้อในฟาร์ม(Disease challenges) ซึ่งเราเรียกรอยต่อตรงนี้ว่า ‘Window of susceptibility’ หรือช่วงที่อ่อนไหวต่อการติดเชื้อ สรุปได้ว่า เราต้องจัดการเรื่องการได้รับนมน้ำเหลืองและนมขาวให้ดี เพียงพอกับปริมาณลูกสุกรทุกตัว และวางโปรแกรมวัคซีนโดยเฉพาะเข็มแรกและเข็มที่สองให้ทันท่วงทีกับสถานการณ์โรคที่พบในฟาร์ม ด้วยปัจจัยสองอย่างนี้จะช่วยให้การปกป้องฝูงสุกรจากเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงสุด

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้นับเป็น The secret of success : เคล็ดลับความสำเร็จในการสร้างภูมิคุ้มกันในฝูงสุกร ที่จะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพสุกรในระดับฝูงที่เวทมอร์เก็บมาฝากจากในงานสัมมนา หัวข้อ “Aleta:An Immunosecurity /The secret to success”

เวทมอร์
คัดสรรอาหารสัตว์คุณภาพสูง

Follow us on
ติดตามเราได้ที่

บทความที่คุณอาจสนใจ